อาหารที่มีอิทธิพลต่อการเจริญและแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
Food may influence
cancer spread
By James Gallagher Health and science
correspondent, BBC News
อาหารอาจมีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
โดย เจมส์
แกลแลกเกอร์
ผู้สื่อข่าว
สุขภาพและวิทยาศาสตร์ สำนักข่าวบีบีซี
Animal research, published in the journal Nature, showed breast
tumours struggled without the dietary nutrient asparagine.
It is
found in the foodies' favourite asparagus, as well as poultry, seafood and many
other foods.
In
the future, scientists hope to take advantage of cancer's "culinary
addictions" to improve treatment.
Asparagine is an amino acid - a building block of protein -
and takes its name from asparagus.
นักวิทยาศาสตร์แห่งเคมบริดจ์กล่าวว่าพบหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าอาหารที่เรารับประทานสามารถเปลี่ยนรูปแบบการเจริญและการลุกลามของมะเร็งได้
ผลการศึกษาวิจัยในสัตว์ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์แสดงให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมแพร่กระจายได้ยากหากปราศจากกรดแอสพาราจีนที่อยู่ในสารอาหาร
กรดดังกล่าวพบได้ในหน่อไม้ฝรั่งซึ่งเป็นที่โปรดปรานของผู้ชอบรับประทาน
รวมทั้งในสัตว์ปีก อาหารทะเลและอาหารอื่นๆอีกมากมาย ในอนาคต นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะนำข้อดีของความต้องการอาหารของโรคมะเร็งมาปรับปรุงการรักษา
สำหรับแอสพาราจีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นหน่วยโครงสร้างของโปรตีนซึ่งเรียกชื่อตาม
asparagus หรือหน่อไม้ฝรั่งนั่นเอง
Spread
The study, conducted
at the Cancer Research UK Cambridge Institute, took place on mice with an
aggressive form of breast cancer.
Normally they would
die in a couple of weeks as the tumour spread throughout the body.
But when the mice were
given a low-asparagine diet or drugs to block asparagine then the tumour
struggled to spread.
"It was a really
huge change, [the cancers] were very difficult to find," said Prof Greg
Hannon.
Last year, the University of Glasgow showed cutting out the
amino acids serine and glycine slowed the development of
lymphoma and intestinal cancers.
Prof Hannon told the
BBC: "We're seeing increasing evidence that specific cancers are addicted
to specific components of our diet.
"In the future,
by modifying a patient's diet or by using drugs that change the way that tumour
cells can access these nutrients we hope to improve outcomes in therapy."
การแพร่กระจาย
จากการศึกษาเซลล์มะเร็งเต้านมขั้นรุนแรงของหนูทดลองที่สถาบันวิจัยมะเร็งเค็มบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักรพบว่าโดยปกติหนูจะตายลงในสองสัปดาห์เนื่องจากมะเร็งแพร่ลุกลามไปทั่วร่างกาย
แต่เมื่อหนูได้รับอาหารที่มีกรดแอสพาราจีนต่ำหรือยาสกัดแอสพาราจีนปรากฏว่าเนื้อร้ายแพร่กระจายได้ยาก
“นับว่าเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงซึ่งยากมากสำหรับโรคมะเร็ง”
ศาสตราจารย์ เกรก แฮนนอน กล่าว
นอกจากนี้เมื่อปีที่แล้ว
มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้แสดงให้เห็นว่าการหยุดบริโภคอาหารที่มีกรดอมิโนเซรีนและไกลซีนสามารถชะลอการเจริญของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งลำไส้ได้
ทางด้านศาตราจารย์
แฮนนอนกล่าวกับ บีบีซีว่า “เราพบหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าโรคมะเร็งเฉพาะบางชนิดเจริญเติบโตโดยอาศัยองค์ประกอบบางอย่างในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป
“ในอนาคต
จะมีการดัดแปลงอาหารของผู้ป่วยหรือใช้ยาซึ่งไปเปลี่ยนวิธีที่เซลมะเร็งสามารถรับสารอาหารเหล่านี้
เราหวังว่าการรักษาจะได้ผลดีขึ้น”
Cancer
An initial tumour is
rarely deadly. It is when the cancer spreads throughout the body - or
metastasises - that it can become fatal.
A cancerous cell must
go through huge changes in order to spread - it must learn to break off the
main tumour, survive in the bloodstream and thrive elsewhere in the body.
It is this process for
which researchers think asparagine is necessary.
But fear not asparagus
lovers, these findings still need to be confirmed in people and asparagine is
hard to avoid in the diet anyway.
In the long run,
scientists think patients would be put on special drinks that are nutritionally
balanced, but lack asparagine.
Prof Charles Swanton,
Cancer Research UK's chief clinician, said: "Interestingly, the drug
L-asparaginase is used to treat acute lymphoblastic leukaemia, which is
dependent on asparagine.
"It's possible
that in future, this drug could be repurposed to help treat breast cancer
patients."
Further trials are
still necessary.
Baroness Delyth
Morgan, the chief executive at Breast Cancer Now, said patients should not go
on drastic diets on the back of this study.
She said: "We
don't recommend patients totally exclude any specific food group from their
diet without speaking to their doctors.
"We'd also
encourage all patients to follow a healthy and varied diet."
โรคมะเร็ง
เนื้องอกในระยะเริ่มต้นไม่ค่อยมีอันตราย
แต่เมื่อมะเร็งได้ลุกลามหรือแพร่กระจายไปทั่วร่างกายก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต
เซลล์มะเร็งต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เพื่อจะแพร่กระจาย
มันต้องแยกตัวออกจากก้อนเนื้อร้าย เข้าไปอยู่ในกระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆในร่างกาย
กระบวนการนี้นี่เองที่นักวิจัยคิดว่ามะเร็งจำเป็นต้องอาศัยกรดแอสพาราจีน
และก็เป็นที่น่ากังวลอยู่เหมือนกันว่าจะไม่มีใครกล้ารับประทานหน่อไม้ฝรั่ง
อย่างไรก็ตามการค้นพบดังกล่าวยังต้องการการยืนยันในกรณีของคนและเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงกรดแอสพาราจีนในอาหาร
ในระยะยาว
นักวิทยาศาสตร์คิดว่าผู้ป่วยจะต้องพึ่งอาหารเหลวชนิดพิเศษเพื่อสร้างสมดุลทางโภชนาการโดยที่ไม่มีแอสพาราจีน
ศาตราจารย์
ชาร์ลส์ สวันตัน หัวหน้าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยมะเร็งในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “มีการใช้
แอสพาราจิเนสแอล รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันซึ่งอาศัยแอสพาราจีนในการแพร่กระจายที่น่าสนใจ
และเป็นไปได้ว่าในอนาคต จะมีการนำยาชนิดนี้มาช่วยรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอีก”
อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการทดลองเพิ่มเติม
บาโรเนส เดลีท
มอร์แกน ประธานบริหาร เบรสท์ เซนเตอร์ นาว กล่าวว่า
ผู้ป่วยไม่ควรมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามการศึกษานี้อย่างเข้มงวด
เธอกล่าวว่า
“เราไม่แนะนำให้ผู้ป่วยเลิกรับประทานอาหารชนิดใดเป็นการเฉพาะโดยปราศจากการปรึกษาแพทย์ผู้รักษา”
หมายเหตุ เนื้อหาบทความภาษาอังกฤษข้างต้นนำมาจาก http://www.bbc.com/news/health-42976851
การแปลหมวดสุขภาพและการแพทย์เรื่องอื่นๆ
ข่าวดีสำหรับผู้ที่กลัวเข็มฉีดยา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบการผลิตวัคซีนชนิดใหม่ในรูปยาเม็ด
ระวัง ! รับประทานอาหารจานด่วนมีผลต่อการตั้งครรภ์
รับประทานเห็ดระวังอันตรายถึงชีวิต
ระวังลูกหลานอาจติดอาหารขยะจากสื่อโซเชียลมีเดีย
การแปลหมวดต่างๆ
หมวดสุขภาพและการแพทย์
หมวดเทคโนโลยี
หมวดภาพยนตร์ บันเทิง
หมวดธุรกิจการตลาด
บทสนทนาถัดไป
บทสนทนาก่อนหน้า
Comments
Post a Comment