ระวัง ! รับประทานอาหารจานด่วนมีผลต่อการตั้งครรภ์
การรับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเจริญพันธุ์ในเพศหญิง
จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงที่รับประทานอาหารจานด่วนเป็นประจำและรับประทานผลไม้ไม่เพียงพออาจจะตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น
จากการสำรวจผู้หญิง 5,598 รายพบว่าผู้ที่รับประทานอาหารจานด่วนสี่ครั้งหรือมากกว่านั้นในหนึ่งสัปดาห์ใช้เวลาที่จะสามารถตั้งครรภ์ได้นานกว่าผู้ที่ไม่เคยหรือแทบจะไม่ได้รับประทานอาหารดังกล่าวเลยเกือบหนึ่งเดือน
นอกจากนี้มีรายงานจาก ฮิวแมน รีโพรดัคชัน พบว่าผู้รับประทานอาหารดังกล่าวอาจจะตั้งครรภ์ได้น้อยกว่าภายในหนึ่งปี
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าอาหารที่ดีส่งเสริมโอกาสในการตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดบางอย่างในการศึกษาครั้งนี้ซึ่งรวมทั้งการที่ผู้ถูกสำรวจต้องจำให้ได้ว่าพวกเขาได้รับประทานอะไรไปก่อนตั้งครรภ์
มีการสอบถามผู้หญิงในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เกี่ยวกับอาหารที่พวกเธอรับประทานในเดือนก่อนที่จะตั้งครรภ์ลูกคนแรก
เจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ได้ไปเยี่ยมว่าที่คุณแม่ดังกล่าวเมื่อพวกเธอตั้งครรภ์ได้ประมาณ
14-16 สัปดาห์และถามพวกเธอว่าได้รับประทานผลไม้
ผักใบเขียวและปลารวมทั้งอาหารจานด่วน เช่น เบอร์เกอร์ พิซซ่า ไก่ทอดและมันฝรั่งจากร้านอาหารบ่อยแค่ไหน
นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่รับประทานผลไม้หนึ่งถึงสามครั้งต่อเดือนโดยเฉลี่ยใช้เวลาที่จะสามารถตั้งครรภ์ได้นานขึ้นครึ่งเดือนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทานผลไม้สามครั้งหรือมากกว่านั้นในหนึ่งวัน
พวกเขายังคำนวณว่าผู้หญิงที่รับประทานผลไม้ในปริมาณต่ำสุดมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
12 % ภายในหนึ่งปี
ขณะที่ผู้หญิงซึ่งรับประทานอาหารจานด่วนสี่ครั้งหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์มีความเสี่ยงอยู่ที่
16 %
การคำนวณนี้เปรียบเทียบกับความเสี่ยง 8% ของผู้หญิงทั้งหมดในกลุ่มดังกล่าว
คู่สามีภรรยาที่ฝ่ายชายได้รับการรักษาทางภาวะเจริญพันธุ์จะไม่รวมอยู่ในการวิเคราะห์นี้
ศาสตราจารย์ แคลร์ โรเบิร์ต จากมหาวิทยาลัยอดีเลด ประเทศออสเตรเลีย
ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า
“การค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพดีซึ่งรวมทั้งผลไม้และการลดปริมาณอาหารจานด่วนช่วยปรับปรุงภาวะเจริญพันธุ์และลดระยะเวลาที่จะสามารถตั้งครรภ์ได้”
อย่างไรก็ตาม
ขณะที่นักวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริโกคผลไม้และอาหารจานด่วนและเวลาที่จะสามารถตั้งครรภ์
บางทีเป็นที่น่าแปลกใจว่าการศึกษาของพวกเขาพบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานผักใบเขียวและปลาแต่อย่างใด
แม้ว่าเป็นการศึกษาขนาดใหญ่
แต่มันเป็นการรวมเรื่องขอบเขตอาหารที่จำกัดเท่านั้น
การศึกษาไม่มีการเก็บข้อมูลอาหารของทางฝ่ายชายและมีความเป็นไปได้ที่ปัจจัยอื่นๆที่ยังไม่ทราบอาจมีผลกระทบต่อผลลัพธ์ที่ได้
นักวิจัยกล่าว
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าว่า มันยังคงเสริมหลักฐานว่าอาหารที่ฝ่ายหญิงรับประทานก่อนตั้งครรภ์นั้นมีผลกระทบต่อโอกาสการตั้งครรภ์ของพวกเธอ
ทางด้าน ดร จิโน ปิคาราโร
ผู้บรรยายอาวุโสแห่งมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยเรื่องนี้
กล่าวว่า โดยทั่วไปการศึกษานี้สนับสนุนสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพส่วนใหญ่โดยธรรมชาติเชื่อว่า
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นั้นดีต่อคู่สามีภรรยาที่พยายามจะให้มีการตั้งครรภ์
Regular fast food
eating linked to fertility issues in women
A survey of 5,598
women found those who ate fast food four or more times a week took nearly a
month longer to get pregnant than those who never or rarely ate it.
Regular
junk food eaters were also less likely to conceive within a year, the report in Human
Reproduction found.
Experts said it
suggested a good diet boosted the chances of conceiving.
However, there were
some limitations to the study, including that it relied on women having to
remember what they had eaten before pregnancy.
Women in Australia,
New Zealand, the UK and Ireland were quizzed about what they had eaten in the
month before they became pregnant with their first child.
Midwives visited the
women when they were about 14-16 weeks pregnant and asked them how often they
ate fruit, green leafy vegetables and fish, as well as foods, such as burgers,
pizza, fried chicken and chips, from fast food outlets.
Researchers found the
women who had eaten fruit less than one to three times a month took on average
half a month longer to become pregnant than those who had eaten it three or
more times a day.
They also calculate
that the women with the lowest intake of fruit had a 12% risk of having been
unable to conceive within a year, while this was 16% for those who had eaten
fast food four or more times a week.
This compared with a
risk of 8% in the group as a whole.
Couples were excluded
from the analysis if the male partner was receiving fertility treatment.
Prof Claire Roberts,
from the University of Adelaide, Australia, who led the study, said:
"These findings show that eating a good quality diet that includes fruit
and minimising fast food consumption improves fertility and reduces the time it
takes to get pregnant."
However, while
researchers found an association between the consumption of fruit and fast
foods and the time it took to get pregnant, perhaps surprisingly their study
found no link with eating green leafy vegetables and fish.
Although the study was
large, it incorporated only a limited range of foods.
Information on the
fathers' diets was not collected, and it is possible that other unknown factors
might have affected the results, researchers said.
But experts said it
still added to evidence that women's diet before pregnancy had an impact on
their chances of conceiving.
Dr Gino Pecoraro, a
senior Lecturer at the University of Queensland, who was not involved in the
research, said: "Generally, the study does support what most health
professionals would intuitively believe - having a healthy diet is good for
couples trying to conceive."
อ้างอิง http://www.bbc.com/news/health-43990184
อ้างอิง http://www.bbc.com/news/health-43990184
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า
Comments
Post a Comment