ข่าวดีสำหรับผู้ที่กลัวเข็มฉีดยา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบการผลิตวัคซีนชนิดใหม่ในรูปยาเม็ด
ก้าวแรกสำหรับยาเม็ดวัคซีน
นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ดำเนินการก้าวแรกที่นำไปสู่การสร้างวัคซีนชนิดใหม่ในรูปยาเม็ด
ทีมคาร์ดิฟได้สร้างต้นแบบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดรับประทานซึ่งต่างจากวัคซีนชนิดฉีดตามมาตรฐานที่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง
พวกเขาหวังว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถปูทางเพื่อนำไปใช้ป้องกันโรคจำนวนมากโดยไม่ต้องพึ่งเข็มฉีดยาซึ่งทำให้ใช้งานได้ง่ายในประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม พวกเขากล่าวว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะสามารถนำมาทดลองใช้กับคนได้
การเลียนแบบติดเชื้อ
วัคซีนชีวภาพดั้งเดิมทำงานโดยการนำรูปแบบที่ปลอดภัยของไวรัสหรือแบคทีเรียหรือส่วนที่ไม่เป็นอันตรายของเชื้อดังกล่าวเช่น
เปปไทด์มากระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในร่างกาย
การกระทำดังกล่าวทำให้ร่างกายจดจำโรคได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่
และสามารถป้องกันโรคได้ผลยิ่งขึ้นหากเคยเผชิญกับโรคดังกล่าวมาแล้ว
แต่ปัญหาสำหรับวัคซีนชีวภาพเหล่านี้ก็คือจำเป็นต้องมีการแช่แข็งหรือแช่เย็นขณะที่มีการขนส่งเพื่อที่จะคงประสิทธิภาพไว้ได้จึงทำให้มีราคาแพงและส่งไปยังประเทศต่างๆได้ลำบากหากปราศจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีพอ
สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เอชนิดใหม่นี้ นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟสร้างจากเปปไทด์เทียมซึ่งให้ผลเหมือนกับเปปไทด์ในไวรัสจริง
เปปไทด์ชนิดนี้ไม่เหมือนเปปไทด์ชีวภาพทั่วไป เนื่องจาก โมเลกุลที่เปรียบเสมือน
“ภาพในกระจกเงา” เหล่านี้ไม่สามารถย่อยได้จึงทำให้เป็นไปได้ที่จะสามารถผลิตออกมาในรูปแบบยาเม็ด
จากงานศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร คลีนิเคิล อินเวสติเกเชิน
พบว่าต้นแบบวัคซีนดังกล่าวได้กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้ต้านทานโรคในเซลของมนุษย์
เมื่อทดลองในจานเพาะเชื้อ
นอกจากนี้เมื่อนำไปทดลองกับหนูพบว่าให้ผลเหมือนกับเปปไทด์ชีวภาพมาตรฐานของเชื้อไข้หวัดใหญ่เลยทีเดียว
อีกทั้งยังพบว่ามันผลิตเซลส์ที่ฆ่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้เมื่อทดลองให้หนูกิน
ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ เซเวลว์
จากโรงเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า
“วัคซีนชนิดรับประทานนั้นมีประโยชน์มากมาย”
“วัคซีนดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่กลัวเข็มฉีดยาแต่ยังสามารถทำการเก็บและขนส่งได้ง่ายขึ้นอย่างมากทีเดียวซึ่งทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกลที่ในปัจจุบันประสพปัญหาเรื่องระบบการจัดส่ง
อย่างไรก็ตาม
นักวิจัยยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกมากเพื่อที่จะพัฒนาการให้วัคซีนสังเคราะห์เหล่านี้แก่ประชาชนทุกคนและสำหรับโรคอื่นๆ
พวกเขากล่าวเพิ่มเติมอีกว่าอาจจะใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่จะสามารถนำวัคซีนดังกล่าวมาทดลองกับผู้คนได้
‘การศึกษาวัคซีนชนิดใหม่’
แม้ว่าในปัจจุบันมีวัคซีนรับประทานอีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้แล้ว
ได้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดรับประทาน แต่วัคซีนชนิดนี้ก็จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้แช่แข็งอยู่ดี
ทางด้าน ซาเนีย สตามาทากี
ผู้บรรยายอาวุโสด้านภูมิคุ้มกันวิทยาไวรัสแห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงก์แฮม กล่าวว่า
“การศึกษาเพื่อเตรียมวัคซีนชนิดใหม่ที่สำคัญนี้สามารถเปลี่ยนการพัฒนาวัคซีนเพื่อนำไปใช้กับโรคที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ยากแก่การเข้าถึงผู้ติดเชื้อซึ่งอาจได้รับผลกระทบโดยภัยธรรมชาติหรือสงคราม”
ส่วน ดิเวีย ซาฮ์ จากทีมวิจัยโรคระบาดและภูมิคุ้มกันชีวภาพแห่ง เวลคัม
ทรัสท์ กล่าวว่า การศึกษา “ที่น่าตื่นเต้นนี้” ก่อให้เกิดหนทางที่มีศักยภาพนำไปสู่การผลิตวัคซีนสังเคราะห์ชนิดรับประทานที่ทนสภาพร้อนได้”
“อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกมากเพื่อนำการค้นพบดังกล่าวไปสู่การผลิตวัคซีนที่ใช้งานได้จริง”
ทางด้าน โจนาธาน บอล
ศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยาโมเลกุลแห่งมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมกล่าวว่า
“สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก็คือเปปไทด์ยังคงสามารถป้องกันการติดเชื้อได้หรือเปล่าเมื่อได้รับเข้าไปในร่างกายโดยการรับประทาน
และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้ได้ผลในมนุษย์จริงหรือ
แต่อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นก้าวแรกที่น่าตื่นเต้นทีเดียว”
UK scientists have taken
the first steps towards creating new vaccine treatments in pill form.
The Cardiff team has
made a prototype oral flu vaccine, which unlike standard inoculations does not
need to be stored in a fridge or freezer.
They hope it could
pave the way for needle-free inoculations for lots of different diseases that
would be easier to use in developing countries.
However, they said
more work was needed before it could be tested in people.
Mimicking infection
Traditional biological
vaccines work by introducing a safe form of a virus or bacteria - or a harmless
part of it, such as a peptide - in order to provoke an immune response in the
body.
This allows the body
to recognise an illness, such as flu, and deal with it more effectively should
it ever encounter it for real.
But the difficulty
with these biological vaccines is that they need to be frozen or refrigerated
throughout transport to keep them stable, making them costly and difficult to
deliver in countries without a reliable electrical supply.
For this new
influenza-A vaccine, scientists at Cardiff University created man-made peptides
that mimic those in real viruses.
Unlike the biological
peptides, these "mirror image" molecules cannot be digested, opening
up the possibility for them to be administered in pill form.
The study, published in the Journal
of Clinical Investigation, found the prototype triggered a strong immune system response
in human cells when tested in a culture dish.
And it was as effective
as the standard biological influenza peptide when tested in mice.
It was also shown to
generate cells that kill the influenza virus when it was given orally to the
mice.
Prof Andrew Sewell,
from Cardiff University's school of medicine, who led the study, said:
"There are many benefits to oral vaccines.
"Not only would
they be great news for people who have a fear of needles but they can also be
much easier to store and transport, making them far more suitable for use in
remote locations where current vaccine delivery systems can be
problematic."
However, researchers
acknowledged that much more research was needed to develop these synthetic
vaccinations for the entire population and for other diseases.
They added it was
likely to take several years before such a vaccine could be tested in people.
'Novel approach'
There is another oral
vaccine already in existence - oral polio vaccine - but that needs to be stored
in a freezer.
Zania Stamataki,
senior lecturer in viral immunology, at the University of Birmingham, said:
"This important novel approach to vaccine design could change vaccine
development against multiple diseases, particularly those infecting
hard-to-reach populations affected by natural disasters or war."
Divya Shah, from the
Wellcome Trust's infection and immunobiology team, said the
"exciting" study provided "a potential route to make synthetic
vaccines that are heat stable and could be taken orally".
"However, much
more research is needed to translate the findings into real-world vaccines."
Jonathan Ball, a
professor of molecular virology at Nottingham University, said: "It will
be important to see if the peptides can still protect against infection when
administered by mouth, and equally crucial to see if they work in humans, but
it's an exciting first step nonetheless."
อ้างอิง http://www.bbc.com/news/health-43385777
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า
Comments
Post a Comment