ระวังลูกหลานอาจติดอาหารขยะจากโซเชียลมีเดีย


ดารายูทูปอาจกระตุ้นเด็กๆให้รับประทานแคลอรี่เพิ่มขึ้น

งานศึกษาชิ้นใหม่ชี้แนะว่า คนดังทางโซเชียลมีเดียอาจเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กๆรับประทานขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น

จากงานศึกษาดังกล่าวพบว่าเด็กๆที่ได้ดูผู้เผยแพร่วิดีโอที่มีชื่อเสียงรับประทานขนมขบเคี้ยวที่มีน้ำตาลและไขมันสูงทำให้เด็กๆเหล่านั้นรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่มากว่าเด็กๆที่ไม่ได้ดู 26%

มีการนำเสนองานศึกษาดังกล่าวที่ European Congress on Obesity เป็นการทดสอบการตอบสนองของเด็กๆที่มีต่อภาพลักษณ์จากโซเชียลมีเดีย

ผลการศึกษาปรากฏออกมาท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้มีการออกกฎเกี่ยวกับการโฆษณาอาหารขยะที่เข้มงวดขึ้น

คนดังทางโซเชียลมีเดียที่ใช้อ้างอิงในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ โซลลา ซึ่งมีผู้ติดตามอินสตาแกรมของเธอถึง 10.9 ล้านคน และ อัลฟี ดีย์ส ที่มีผู้ติดตาม 4.6 ล้านคน


ได้มีการแบ่งเด็กจำนวน 176 คนออกเป็นสามกลุ่มและให้พวกเขาดูภาพประเภทใดประเภทหนึ่งของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ชักจูงให้สนใจขนมขบเคี้ยวที่ไม่มีประโยชน์ อาหารที่มีประโยชน์หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

แล้วมีการเสนอรายการอาหารขบเคี้ยวที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ให้เด็กๆเลือกซึ่งรวมทั้ง ขนมประเภทองุ่น แครอท ช็อคโกแล็ตหรือเจลลี่

ปรากฏว่าเด็กๆที่เห็นภาพอาหารที่ไม่มีประโยชน์รับประทานอาหารดังกล่าว 448 แคลอรี่ขณะที่กลุ่มอื่นๆรับประทานเพียง 357 แคลอรี่

ดร. เอ็มมา บอยแลนด์ หนึ่งในบรรดานักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล กล่าวว่า เด็กๆคิดว่าผู้เผยแพร่วิดีโอคือ ผู้คนในชีวิตประจำวันทั่วไป” ที่เหมือนกับเพื่อนๆของพวกเขา

“ผู้เผยแพร่วิดีโอเหล่านั้นสร้างความศรัทธาขึ้นท่ามกลางบรรดาเด็กๆและพวกเขาต้องมีความรับผิดชอบต่อเรื่องดังกล่าวด้วย เธอกล่าว

เนื้อหาในโฆษณา

นักวิจัยได้ร้องขอให้มีการคุ้มครองเด็กๆเพิ่มขึ้นในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่องโซเชียลมีเดียต่างๆที่เกิดความไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะแยกแยะความแตกต่างระหว่างโฆษณากับเนื้อหาที่แท้จริงได้หรือไม่

ดร. บอยแลนด์ กล่าวว่า “ในทีวีมีการกำหนดบทบาทมากขึ้นเมื่อโฆษณากำลังแสดง ไม่ว่าจะเป็น การหยุดโฆษณา เพลงโฆษณา ส่วนการโฆษณาในโลกดิจิตอลมีสิ่งต่างๆที่แฝงอยู่ในเนื้อหาส่วนที่เหลือมากยิ่งกว่าอีก”

แอนนา โคทส์ ผู้นำการวิจัยการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า “เรารู้ว่าหากแสดงโฆษณาเครื่องดื่มแบบทั่วไปให้เด็กๆดู พวกเขาจะมีความพึงพอใจต่อเครื่องดื่มนั้นเพิ่มขึ้น เราต้องการทดสอบปฏิกิริยาของพวกเขาที่มีต่อบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ปรากฏตัวในโฆษณาแบบใหม่ทางโซเชียลมีเดีย

“การศึกษาครั้งนี้เราได้แสดงให้เห็นว่าเด็กๆได้รับอิทธิพลจากคนดังในโลกออนไลน์ ในการศึกษาครั้งต่อไปเราจะพิจารณาว่าพวกเขาเข้าใจหรือไม่ว่าบุคคลที่มีชื่อเสียงจำนวนมากได้รับว่าจ้างให้โปรโมทผลิตภัณฑ์เหล่านั้น

“นับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เด็กๆได้รับการปกป้องจากการทำการตลาดอาหารขยะซึ่งไม่เจาะจงเฉพาะในทีวีแต่ในโลกออนไลน์ซึ่งเป็นช่องทางที่เด็กๆรับชมเพิ่มขึ้นด้วย

“บริษัทสามารถกำหนดเป้าหมายโฆษณาบนโซเชียลมีเดียซึ่งให้โอกาสผู้ควบคุมกำหนดข้อจำกัดที่เหมาะสมได้เช่นกัน”

YouTube stars 'might encourage kids to eat more calories

Social media stars might be encouraging children to eat more unhealthy snacks, a new study suggests.
It found children who saw popular vloggers consuming sugary and fatty snacks went on to eat 26% more calories than those who did not.
The study, presented at the European Congress on Obesity, examined the responses of children to images from social media.
The findings come amid calls for tougher rules on junk food advertising.
The social media stars used in the study were Zoella, who has 10.9 million followers on Instagram, and Alfie Deyes, who has 4.6 million.
The 176 children were split into three groups and shown either pictures of the personalities promoting unhealthy snacks, healthy foods or non-food products.
The children were then offered a range of healthy and unhealthy snacks to choose from, including grapes, carrot sticks, chocolate buttons or jelly sweets.
The children who had seen the unhealthy images consumed an average of 448 calories, while the others ate just 357.

Dr Emma Boyland, one of the researchers from the University of Liverpool, said that children consider vlogggers to be "everyday people" just like their peers.
"They've earned a position of trust among young people and there has to be some responsibility along the line," she said.
'Embedded content'
The researchers called for more protection for children online, particularly on social media channels where it is unclear whether they understand the difference between an advert and genuine content.
Dr Boyland said: "On TV there are more cues as to when it's advertising - there's an advert break, there's a jingle - whereas digitally it's a lot more embedded in the rest of the content."
Anna Coates, the lead researcher on the study, said: "We know that if you show children a traditional drink advert, then their preference for that drink rises. We wanted to test their reactions to this new type of celebrity, the social media star.
"Now that we've shown that children are influenced by online stars, our next study will look at whether they understand that, in many cases, celebrities are being paid to promote products."
Prof Russell Viner, president of the Royal College of Paediatrics and Child Health, called on the government to consider more regulation to protect children in its forthcoming childhood obesity strategy.
"It's vital that children are protected from the marketing of junk food, not only on TV but also online where they are increasingly spending time.
"Companies are able to target their adverts on social media, which does provide the opportunity for regulators to put restrictions in place."
บทความก่อนหน้า

Comments

Popular posts from this blog

การเขียนจดหมายยืนยันนัดหมายภาษาอังกฤษ (Confirming an appointment)

เมื่อจะพูดว่า “มีนัดกับหมอเพื่อรับการรักษาหรือวินิจฉัยโรค” ใช้ appointment

การเขียนจดหมายขอนัดพบเป็นภาษาอังกฤษ (Requesting an appointment)