เรียนพูดภาษาอังกฤษ ก่อนจะฝึกพูดภาษาอังกฤษต้องทำความเข้าใจก่อน
ก่อนที่จะพูดภาษาอังกฤษหรือต้องการฝึกพูดภาษาอังกฤษท่านต้องทำความเข้าใจในหลักความจริงก่อนว่าภาษาอังกฤษกับภาษาไทยมีทั้งส่วนโครงสร้างที่เหมือนและต่างกันเพื่อที่ท่านจะได้ไม่นำเอาโครงสร้างภาษาไทยใส่ไปด้วยเมื่อจะพูดภาษาอังกฤษ และไม่ใช่เรื่องโครงสร้างอย่างเดียวแต่หมายถึงการใช้คำและสำนวนต่างๆที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกเสียงพยัญชนะหรือสระ ซึ่งพยัญชนะบางตัวในภาษาอังกฤษจะออกเสียงเทียบได้ชัดเจนกับภาษาไทยแต่บางตัวเทียบได้ไม่ชัดเจนหรือบางตัวออกเสียงที่ไม่มีเสียงพยัญชนะตัวใดเทียบได้หรือหาพยัญชนะในภาษาไทยไปเทียบได้ยากมาก อีกทั้งยังมีความแตกต่างในเรื่องสระ ซึ่งสระในภาษาอังกฤษมีน้อยไม่เหมือนในภาษาไทย
และเสียงสระก็ไม่ตายตัวเหมือนในภาษาไทยด้วย
ตัวอย่างเปรีบเทียบโครงสร้างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
ส่วนที่คล้ายกัน
1 She is a student in a university.
ชี อิซ อะ สทิวเด็นทฺ อิน อะ ยูนิเวอรฺซิตี
(เธอเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง)
ส่วนที่แตกต่างกัน
2 She has studied in this famous university for 4 years.
ชี แฮซ สตัดดีดฺ อิน ดิส เฟมึส ยูนิเวอรฺซิตี ฟอรฺ โฟวรฺ เยียรฺส
(เธอเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อแห่งนี้สี่ปีแล้ว)
ประโยคที่หนึ่ง คือส่วนที่คล้ายกันระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย คือมีการเรียงตำแหน่งของคำต่างๆตามลำดับจากขวาไปซ้าย ซึ่งคล้ายกับภาษาไทยมากแต่ก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ซึ่งสังเกตเห็นได้ว่าในภาษาอังกฤษหากคำนามเป็นคำนามที่นับได้จะต้องมี article=อารฺทิเคิล (คำนำหน้านาม) วางอยู่หน้าคำนามเสมอ คำนำหน้านามที่วางหน้าคำนามนับได้เมื่อกล่าวถึงคำนามดังกล่าวเป็นครั้งแรกมีสองคำได้แก่ a และ an ซึ่งในภาษาไทยไม่มีการใช้ในลักษณะนี้ ในภาษาไทยหากมีการใช้เพื่อบอกว่ามีจำนวนหนึ่งก็จะเอาจำนวนไปไว้ข้างหลังคำนามแต่ในภาษาอังกฤษจะเอาไว้ข้างหน้าดังที่กล่าว ในภาษาไทยเราจะพูดว่า นักเรียนคนหนึ่ง มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เป็นต้น
ประโยคที่สอง คือส่วนที่แตกต่างกันระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย คือมีโครงสร้างประโยคและตำแหน่งของคำขยายนามแตกต่างกัน กล่าวคือในประโยคที่สองที่เป็นภาษาอังกฤษจะมีรูปโครงสร้างที่เป็นภาคแสดงต่างไปเพราะอยู่ในรูป present perfect tense เมื่อเทียบกับประโยคเดียวกันที่เป็นภาษาไทยจะต่างกันมาก เพราะว่าในภาษาไทยไม่ว่าเหตุการเกิดขึ้นเมื่อไหร่หรือนานแค่ไหน ภาคแสดงหรือคำกริยาก็ยังอยู่ในรูปเดิมเสมอ เราแค่ใช้คำกริยาวิเศษณ์บอกถึงความต่างของเวลาเท่านั้นโดยไม่ไปเปลี่ยนแปลงคำกริยาหรือภาคแสดงแต่อย่างใด
ส่วนเรื่องคำขยายคำนามเมื่อมีคำขยายหลายคำเราจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย เพราะคำขยายนามในภาษาอังกฤษจะวางอยู่ข้างหน้าคำนามทั้งหมด แต่ในภาษาไทยเราจะวางคำขยายนามไว้หลังคำนามเท่านั้น
ส่วนเรื่องคำขยายคำนามเมื่อมีคำขยายหลายคำเราจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย เพราะคำขยายนามในภาษาอังกฤษจะวางอยู่ข้างหน้าคำนามทั้งหมด แต่ในภาษาไทยเราจะวางคำขยายนามไว้หลังคำนามเท่านั้น
ความจริงไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ทุกภาษาก็มีทั้งส่วนโครงสร้างที่เหมือนกันและต่างกันทั้งนั้น
ฉะนั้นก่อนอื่นควรทำความเข้าใจในส่วนนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
บทความถัดไป
บทความก่อนหน้า
Comments
Post a Comment