ไฟเซอร์ ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเภสัชกรรมถอนตัวจากการวิจัยโรคอัลไซเมอร์


ไฟเซอร์ บริษัทผลิตยาได้ประกาศว่าจะล้มเลิกการวิจัยยารักษาโรคอัลไซเมอร์
ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเภสัชกรรมในสหรัฐอเมริกากล่าวว่าจะยุติโครงการค้นคว้าด้านประสาทวิทยาหลังจากได้ทบทวน จึงทำให้ งาน 300 ตำแหน่งหายไปด้วย
ส่วนทางสมาคมผู้ป่วยอัลไซเมอร์ร่ำร้องว่าข่าวนี้ สร้างความ “ผิดหวัง” และ “เศร้าใจ” ต่อผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างมาก
บริษัทต่างๆควรได้รับการสนับสนุนลงทุนวิจัยเกี่ยวกับด้านประสาทวิทยา มูลนิธิอัลไซเมอร์ส์ รีเซิร์ช ยูเค กล่าว
การถอนตัวดังกล่าวหมายความว่าไฟเซอร์จะยุติการค้นคว้าการรักษาโรคพารกินสันด้วย อย่างไรก็ตามบริษัทฯ  กล่าวว่าได้วางแผนตั้งกองทุนใหม่เพื่อวิจัยด้านประสาทวิทยาในอนาคต
คำแถลงการณ์จากบริษัทฯ กล่าวว่า “ เราได้ตัดสินใจหยุดการค้นคว้าด้านประสาทวิทยาและความพยายามในการพัฒนาระยะแรกแล้วจัดสรรทุนใหม่เพื่อใช้ในสาขาดังกล่าวซึ่งเราเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่งและทำให้เราสามารถสร้างผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่ผู้ป่วยได้”
สมองอันซับซ้อน

ศาสตราจารย์ ทารา สไปร์ โจนส์ นักประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย เอดินเบิรกกล่าวกับ ทูเดย์ โปรแกรมซึ่งออกอากาศทางบีบีซี เรดิโอ 4 ว่า แม้ว่าจะมีการตัดสินใจยุติโครงการ แต่ยังคงมีความหวังอีกมากมาย
“เนื่องจากไม่ใช่บริษัทเภสัชกรรมทั้งหมดจะถอนตัวและยังคงมีการทดลองทางคลินิกกว่า 100 กรณีในขณะนี้
“มีหลายอย่างที่เกิดขึ้นในขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจความซับซ้อนของสมอง”
เธอกล่าวว่าการตัดสินใจของไฟเซอร์นั้นมีเหตุผลเนื่องจากความล้มเหลวในการทดลองทางคลินิกเกิดขึ้นหลายครั้ง
“กว่า 99 % ของการทดลองยารักษาโรคอัลไซเมอร์ล้มเหลว ใน 15 ปีที่ผ่านมา
“ดังนั้นบริษัทต่างๆจึงระมัดระวังอย่างมีเหตุผล แต่เราก็ได้สร้างความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ไว้บนฉากหน้าวิทยาศาสตร์”
ศาสตราจารย์ สไปร์ โจนส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราได้เรียนรู้จากการทดลองที่ล้มเหลวดังกล่าวจึงจำเป็นที่เราต้องถอยหนึ่งก้าวและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสมอง
“เนื่องจากขณะนี้เรายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าความจำและความคิดทำงานอย่างสมบูรณ์แบบในสมองที่สมบูรณ์ได้อย่างไร”
อย่างไรก็ตามบริษัทเภสัชกรรมหลายแห่งรวมทั้ง โนวาร์ทิส แจนส์เซน ไบโอเจน แอบวี และเอลี ลิลลียังคงพัฒนายารักษาโรคอัลไซเมอร์และโฆษกสมาคมอุตสาหกรรมเภสัชกรรมอังกฤษ (ABPI) กล่าวว่า พวกเขาเดินหน้าคลี่คลายความซับซ้อนของสมองและพิสูจน์ต้นตอของโรคดังกล่าวต่อไป
ทางด้าน ดร เจมส์ พิคเคท หัวหน้าทีมวิจัยสมาคมผู้ป่วยอัลไซเมอร์ กล่าวว่า “แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังเมื่อทราบว่าไฟเซอร ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทเภสัชกรรมชั้นนำของโลกจะล้มเลิกความพยายามในการวิจัยด้านประสาทวิทยา รวมทั้งการค้นคว้ายารักษาโรคอัลไซเมอร์
“สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนที่สุดในร่างกายและการพัฒนายารักษาโรคทางสมองก็เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งยวด แต่การไม่มียาชนิดใหม่เพื่อใช้รักษาโรคสมองเสื่อมใน 15 ปีที่ผ่านมา จะนำความทุกข์ระทมมาสู่ผู้คน 46.8 ล้านคนทั่วโลกในปัจจุบันที่คาดว่ากำลังประสพกับภาวะโรคดังกล่าว”

การดำเนินการระยะยาว

ทางสมาคมผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์กล่าวว่า ได้ระดมทุน 50 ล้านปอนด์เพื่อทำการวิจัยใหม่ที่สถาบันการวิจัยโรคสมองเสื่อมประเทศอังกฤษร่วมกับมูลนิธิการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ประเทศอังกฤษและสภาวิจัยทางการแพทย์
ทางด้านดร แมททิว นอร์ตัน ผู้อำนวยการมูลนิธิการวิจัยโรคอัลไซเมอร์ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า “เราหวังว่าบริษัทเภสัชกรรมทั้งหลายจะพิจารณาถึงศักยภาพระยะยาวในการตัดสินใจที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้
“มันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ทุกภาคหน่วย ไม่ว่าจะเป็น องค์กรการกุศล รัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมต้องดำเนินการวิจัยโรคสมองเสื่อมในระยะยาวหากเราต้องการยุติความกลัว อันตรายและความเศร้าสลดที่เกิดจากโรคสมองเสื่อม”
ปัจจุบัน มีประมาณ 850,000 คนในประเทศอังกฤษที่เผชิญกับภาวะโรคสมองเสื่อม
นอกจากนี้มีการทำนายว่าผู้คนหนึ่งล้านคนจะเป็นโรคสมองเสื่อมภายในปี 2021 และอาจเพิ่มขึ้นถึงสองล้านคนภายในปี 2051

Pharma giant Pfizer pulls out of research into Alzheimer's

Drug company Pfizer has announced it is pulling out of research into drugs to treat Alzheimer's disease.
The US-based pharmaceutical giant said it would be ending its neuroscience discovery programmes following a review, and 300 jobs would be lost.
The Alzheimer's Society called the news "disappointing" and a "he
avy blow" to those living with dementia.
Companies should be encouraged to invest in research into neuroscience, Alzheimer's Research UK said.
The move means Pfizer will also stop looking for treatments for Parkinson's disease, but the company said it planned to create a new fund dedicated to neuroscience research in the future.
A statement from the company said: "We have made the decision to end our neuroscience discovery and early development efforts and re-allocate funding to those areas where we have strong scientific leadership and that will allow us to provide the greatest impact for patients."

Complex brain
Prof Tara Spire-Jones, a neuroscientist at Edinburgh University, told the Today programme on BBC Radio 4 that despite the decision, there was still a lot of hope.
"Not all pharmaceutical companies are pulling out and there are over 100 clinical trials at the moment.
"There is a lot going on in the basic science - we need to understand the complexity of the brain."
She said Pfizer's decision was understandable because of the failure rate of clinical trials.
"More than 99% of trials for Alzheimer's drugs have failed in past 15 years.
"So companies are justifiably cautious, but we are making great advances on the scientific front."
Prof Spire-Jones added: "We've learned from these failures of trials that we need to take a step back and understand brain changes.
"At the moment we don't fully understand how memory and thinking work fully in a healthy brain."
Pharmaceutical companies including Novartis, Janssen, Biogen, Abbvie and Eli Lilly are still developing medicines to treat Alzheimer's disease and a spokesman for the ABPI (Association of the British Pharmaceutical Industry) said they continued "to make progress in unravelling the complexities of the brain and identifying the underpinnings of the disease".
Dr James Pickett, head of research at Alzheimer's Society, said: "Of course it's disappointing to hear that Pfizer, one of the world's leading pharmaceutical companies, will be terminating their research efforts in neuroscience, including Alzheimer's disease drug discovery.
"The brain is the most complex organ in the body and developing drugs to treat brain diseases is a tremendous challenge, but with no new drug for dementia in the last 15 years, this will come as a heavy blow to the estimated 46.8 million people currently living with the condition across the globe."

Long-term commitment
The Alzheimer's Society said it had committed £50m to fund new research at the UK Dementia Research Institute alongside Alzheimer's Research UK and the Medical Research Council.
Dr Matthew Norton, director of policy at Alzheimer's Research UK, said: "We hope that pharmaceutical companies will look at the long-term potential when deciding whether to participate in this effort.
"It is vital that all of us - charities, government and industry alike - make long-term commitments to dementia research if we are to bring an end to the fear, harm and heartbreak of dementia."
Currently, about 850,000 people in the UK have a form of dementia.
One million people are predicted to be living with the condition by 2021, and this could rise to two million by 2051.

อ้างอิง http://www.bbc.com/news/health-42633871

การแปลหมวดสุขภาพและการแพทย์เรื่องอื่นๆ
อาหารที่มีอิทธิพลต่อการเจริญและแพร่กระจายของโรคมะเร็ง

บทความถัดไป

บทความก่อนหน้า

Comments

Popular posts from this blog

เมื่อจะพูดว่า “มีนัดกับหมอเพื่อรับการรักษาหรือวินิจฉัยโรค” ใช้ appointment

การเขียนจดหมายขอนัดพบเป็นภาษาอังกฤษ (Requesting an appointment)

การเขียนจดหมายยืนยันนัดหมายภาษาอังกฤษ (Confirming an appointment)