เมื่อจะพูดว่า ข้ามสะพานข้ามถนน นั่งไขว่ห้าง และนั่งขัดสมาธิ ให้ใช้ cross
เมื่อจะพูดว่า ข้ามสะพานข้ามถนน นั่งไขว่ห้าง และนั่งขัดสมาธิ ให้ใช้ cross
Cross = ครอส เป็นได้ทั้งคำนาม คำคุณศัพท์ และคำกริยา
จึงสามารถนำไปใช้ได้ในหลายบริบท หรือสถานการณ์ ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้กันในฐานะคำกริยา
และส่วนขยาย ที่แปลว่า ข้าม และลักษณะท่าทางการนั่ง
1 I saw a
very big fish in the river as I was crossing the bridge yesterday morning.
ไอ ซอว์ อะ
เวริ บิก ฟิชช์ อิน เดอะ ริฟเวอะ แอส ไอ ว็อซ ครอสซิงก์ เดอะ บริดจ์ เยสเทอะเดย์
มอร์นิงก์
(ฉันเห็นปลาตัวใหญ่มากในแม่น้ำ
ขณะที่ฉันกำลังข้ามสะพานเมื่อเช้าวานนี้)
2 Jane is
sitting with her legs crossed on the chair while Judy is sitting cross legged
on the floor.
เจน อิซ
ซิททิงก์ วิดฬ์ เฮอร์ เลกส์ ครอสท์ ออน
เดอะ แชร์ ไวล์ จูดี อิซ ซิททิงก์ ครอส เลกกิด ออน เดอะ ฟลอร์
(เจนกำลังนั่งไขว่ห้างอยู่บนเก้าอี้ขณะที่จูดีกำลังนั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น)
Cross ในประโยคที่ 1 อยู่ในรูป
active voice และ past continuous tense ทำให้ต้องใช้ v.
to be ในรูป was หรือรูปอดีต ส่วน cross ก็มีการเติม ing
เป็น crossing มีความหมายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังดำเนินอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต
ส่วนคำกริยา saw ก็อยู่ในรูป active voice เช่นกัน แต่เป็น past simple tense ซึ่งรูปประโยคในลักษณะนี้มักใช้คู่กันในความหมายที่ว่าขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ก็จะมีอีกเหตุการณ์หนึ่งแทรกเข้ามา
Cross ในประโยคที่ 2
ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำกริยา sit ซึ่งในที่นี้ทำหน้าที่เป็น
อกรรมกริยา ก็คือกริยาที่ไม่ต้องการกรรมนั่นเอง
สำหรับคำว่านั่งไขว่ห้าง
อาจพูดโดยใช้ cross ในฐานะคำกริยาก็ได้ครับ ก็จะได้เป็น
3 Jane is
crossing her legs on the chair.
เจน อิซ
ครอสซิงก์ เฮอร์ เลกส์ ออน เดอะ แชร์
(เจนนั่งไขว่ห้างอยู่บนเก้าอี้)
Cross ในประโยคที่ 3 ก็จะทำหน้าที่เป็นคำกริยา
อยู่ในรูป active voice และ present continuous tense นั่นเองครับ
หากบทความนี้มีประโยชน์โปรดกดไลก์ กดเลิฟว์ กดแคร์ กดแชร์ แท็กเพื่อน และคอมเมนต์กันนะครับ หรืออยากให้ทำเรื่องอะไรก็บอกกล่าวกันได้ในคอมเมนต์เลยครับ
บทความถัดไป
เมื่อจะพูดว่า ร้องไห้ ตะโกน ให้ใช้ cry
บทความก่อนหน้า
Comments
Post a Comment